ของดีกาฬสินธุ์

แหล่งรวมของดีกาฬสินธุ์ มีแนะนำมาครับ
9 มหัศจรรย์ของดีชาวกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย 
พระธาตุยาคู

  ตั้งอยู่ที่บ้านเสมา ตำบลหนองแปง ห่างจากตัวจังหวัด 19 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 214 (กาฬสินธุ์-ร้อยเอ็ด) ระยะทาง 13 กิโลเมตร ถึงอำเภอกมลาไสย เลี้ยวขวาตามทางหลวงหมายเลข 2367 ระยะทาง 6 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าซอยอีกประมาณ 400 เมตร เมืองฟ้าแดดสงยางหรือที่เรียกเพี้ยนเป็นฟ้าแดดสูงยาง บางแห่งเรียกเมืองเสมาเนื่องจากแผนผังของเมืองมีรูปร่างคล้ายใบเสมา เป็นเมืองโบราณที่มีคันดินล้อมรอบ 2ชั้น ความยาวของคันดินโดยรอบประมาณ 5 กิโลเมตร คูน้ำจะอยู่ตรงกลางคันดินทั้งสอง จากหลักฐานโบราณคดีที่ค้นพบ ทำให้ทราบว่ามีการอยู่อาศัยภายในเมืองมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แล้วได้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้นในสมัยทวารวดีราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 ดังหลักฐานทางพุทธศาสนาที่ปรากฏโดยทั่วไปทั้งภายในและนอกเมือง เช่น ใบเสมาหินทราย จำหลักภาพเรื่องชาดก และพุทธประวัติจำนวนมาก บางส่วนเก็บไว้ที่วัดโพธิ์ชัยเสมารามซึ่งอยู่ภายในเมือง บางแห่งอยู่ในตำแหน่งดั้งเดิมที่พบ และบางส่วนก็นำไปเก็บรักษาและจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติขอนแก่น นอกจากนั้นยังมีซากศาสนสถานกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปภายในเมืองและนอกเมือง เช่นพระธาตุยาคู และกลุ่มเจดีย์บริเวณศาสนสถานที่โนนวัดสูง โนนฟ้าหยาด และโนนฟ้าแดด กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเมืองฟ้าแดดสงยางเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2479

    พระธาตุยาคู หรือพระธาตุใหญ่ เป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองฟ้าแดดสงยาง ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมก่อด้วยอิฐปรากฏการก่อสร้าง 3 สมัยด้วยกันคือ ส่วนฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม มีบันไดทางขึ้น 4 ทิศ มีปูนปั้นประดับสร้างในสมัยทวารวดี ถัดขึ้นมาเป็นฐานรูปแปดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ขนาดฐานกว้าง 10 เมตร ยาว 10 เมตร ซึ่งสร้างซ้อนทับบนฐานเดิมเป็นรูปแบบเจดีย์ในสมัยอยุธยา ส่วนองค์ระฆังและส่วนยอดสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ สร้างซ้อนกันเป็นลักษณะแบบจตุรมุขสูงจากฐานถึงยอด 8 เมตร รอบ ๆ องค์พระธาตุพบใบเสมาแกะสลักภาพนูนต่ำเรื่องพุทธประวัติ ชาวบ้านเชื่อกันว่าในองค์พระธาตุบรรจุอัฐิของพระเถระผู้ใหญ่ที่ชาวเมืองเคารพนับถือ สังเกตได้จากเมื่อเมืองเชียงโสมชนะสงคราม ได้ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในเมืองฟ้าแดดแต่ไม่ได้ทำลายพระธาตุยาคู จึงเป็นโบราณสถานที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ชาวบ้านจะจัดให้มีงานประเพณีบุญบั้งไฟเป็นประจำทุกปีในเดือนพฤษภาคม เพื่อเป็นการขอฝนและความร่มเย็นให้กับหมู่บ้าน


 หลวงพ่อองค์ดำ(ชุ่ม-เย็น)

เดิมอยู่ที่โบสถ์วัดนาขาม ตำบลภูแล่นช้าง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ญาคูนาขาม หรือ ญาคูกิว ร่วมกับ อุบาสก อุบาสิกา จัดสร้างขึ้นในปีมะเมีย เดือน ๒ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ตรงกับวันพฤหัสบดี จ.ศ. ๑๗๒ ปัจจุบันประดิษฐานที่พระวิหารพระพุทธสัมฤทธิ์นิรโรคันตราย วัดกลาง (พระอารามหลวง) อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์

          ที่เรียกว่า หลวงพ่อองค์ดำ เพราะองค์ท่านเป็นสัมฤทธิ์เนื้อสีดำ 

          ที่เรียกว่า หลวงพ่อชุ่มเย็น เพราะบารมีของท่าน คือ เมื่อมีพิธีพุทธาภิเษก รูปเหมือนองค์ท่าน ฝนจะตกทุกครั้ง จึงเรียกว่า หลวงพ่อชุ่มเย็น 


 อนุสาวรีย์พยาชัยสุนทร

เดิมทีชาวเมืองกาฬสินธุ์มีแนวคิดที่จะจัดสร้างอนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทรมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2510 แต่มาแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2523 สมัยนายสมศํกดิ์  ร่มไทรทองเป็นนายกเทศมนตรีเมืองกาฬสินธุ์  นายประกิต  พิณเจริญ  ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์  โดยอาจารย์  ขาว  ละออ เป็นผู้ออกแบบรูปหล่อขนาดเท่าองค์จริง  คือ 175 เซ็นติเมตร  ส่วนบริเวณรอบองค์อนุสาวรีย์มีการจัดทำภาพปะติมากรรมโดยอาจารย์  วิโรจน์  ศรีสุโร  งบประมาณ 460,000 บาท  งบประมาณจากภาคส่วนราชการและประชาชนร่วมบริจาค  เริ่มประกอบพิธีเททองหล่อรูปเหมือนในวันที่ 13 กันยายน 2524 โดยนายขุนทอง  ภูผิวเดือน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน   ต่อมามีการกำหนดให้วันที่ 13 กันยายนมีพิธีการบวงสรวงทุกปี   การก่อสร้างอนุสาวรีย์ใช้เวลา 1 ปี แล้วเสร็จในปี 2525




วัดพุทธนิมิต(ภูค่าว)

วัดพุทธนิมิตภูค่าว ตั้งอยู่บ้านนาสีนวล ตำบลสหัสขันธ์ ห่างจากตัวอำเภอสหัสขันธ์ประมาณ 7 กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ตะแคงซ้าย ไม่มีเกตุมาลา ยาวประมาณ 2 เมตร กว้าง 50 ซม. เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป 



 เขื่อนลำปาว

เขื่อนลำปาว เป็นเขื่อนดิน อยู่ในเขตอำเภอสหัสขันธ์อำเภอคำม่วงอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ อยู่ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ประมาณ 36 กิโลเมตร
เขื่อนลำปาวสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2511 ปิดกั้นลำน้ำปาวและห้วยยางที่บ้านหนองสองห้อง ทำให้เกิดเป็นอ่างเก็บน้ำแฝดทางด้านเหนือเขื่อน จึงได้ขุดร่องเชื่อมระหว่างอ่างทั้งสอง สร้างขึ้นเพื่อบรรเทาอุทกภัยและเพื่อการเกษตรโดยเฉพาะ



 โปงลาง

โปงลาง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเคาะหรือเครื่องตี มีลักษณะคล้ายระนาดแต่แขวนในแนวดิ่ง เป็นที่นิยมในภาคอีสาน บางท้องถิ่นอาจเรียกว่า หมากกลิ้งกล่อม หมากขอลอ หรือ เกราะลอ(ผู้เฒ่าผู้แก่ในถิ่นดงมูลอำเภอหนองกุงศรีเรียก "หมากเต๋อเติ่น") เป็นเครื่องดนตรีประจำจังหวัดกาฬสินธุ์นายเปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) ประจำปี พ.ศ. 2529 ชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ได้ทำการพัฒนาโปงลางจนมีลักษณะเช่นในปัจจุบัน โดยได้พัฒนาโปงลางขึ้นจากเกราะลอ ซึ่งใช้เคาะส่งสัญญาณในท้องนา

ผ้าไหมแพรวา


การทอผ้าแพรว่านั้น มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับการทอผ้าจก คือใช้มือจก ยกเส้นด้ายยืน แล้วสอดด้ายสีไปตามลายผ้าที่ต้องการลวดลายของแพรวามีลักษณะคล้ายคลึงกับลายขิดอีสานอยู่บ้าง ที่แตกต่างกันก็มี ความหลากหลายของสีสันในแต่ละลวดลายนั้นน้อยกว่าผ้าจกของชาวไทยพวนหรือไทยยวน แต่มีลักษณะรวมกันคือลายหลักมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมแปียกปูน (อันเป็นโครงสร้างพื้นฐานของลายผ้า)ลวดลายของแพรวานั้นมีความหลากหลายพอๆ กับลายผ้าแบบอื่น ขึ้นกับความคิดสร้างสรรค์ของช่างทอนั่นเอง ลานหลักๆ ก็เช่น ลายนาคสี่แขน ช่อขันหมาก ดาวไต่เครือ และมีลายแถบ เช่น ดอกดาวหมู่ ดอกแปดขอ เป็นต้น ในผืนหนึ่งๆ จะลวดลายนับสิบลายการเรียงตัวของลายผ้านั้น เนื่องจากแพรวาใช้พาดในแนวตั้ง ลายผ้าจึงไล่ไปทางแนวตั้ง ขณะที่ผ้าจกลายผ้าจะไล่ไปแนวนอน ตามระดับการมองเมตร สำหรับการตัดเย็บใช้สอยอื่นๆ



พิพิธภัณฑ์สิรินธร

พิพิธภัณฑ์สิรินธร หรือ (พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ภูกุ้มข้าว) เป็นพิพิธภัณฑ์ทางธรรมชาติวิทยา ที่มีการจัดแสดงซากกระดูกไดโนเสาร์ และแสดงความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในมุมมองต่างๆ ทั้งเชิงวิชาการ การอนุรักษ์ รวมไปถึงความสัมพันธ์ต่างๆ พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์สิรินธร ได้รับพระราชทานนามจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า "พิพิธภัณฑ์สิรินธร"

 สะพานเทพสุดา

"สะพานเทพสุดา" เป็นสะพานข้ามเขื่อนลำปาว ที่ได้รับพระราชทานชื่อจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เริ่มก่อสร้างเมื่อ ปี 2549 งบประมาณ 498 ล้านบาท จากบริเวณแหลมโนนวิเศษ ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และ ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ขนาด 2 ช่องจราจร ความยาว 2,040 เมตร เป็นสะพานข้ามน้ำจืดที่ยาวที่สุดในประเทศไทย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น